ทำไงดีเมื่อลูกชักเพราะพิษไข้

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

ทำไงดีเมื่อลูกชักเพราะพิษไข้

ภาวะชักจากไข้สูง นั้น เกิดขึ้นได้กับเด็กในเด็กวัย 6 เดือน –7 ปี แต่กลุ่มที่พบได้บ่อยที่สุดคือเจ้าตัวน้อยวัย 1-2 ปี สาเหตุเกิดจากสมองของเด็กในวัยนี้กำลังมีการเจริญเติบโตและไวต่อการกระตุ้นจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น โดย 75% ของเด็กที่มีอาการชักมักจะมีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ในบางกรณีอาจเกิดจากการติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นในบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจน้ำไขสันหลัง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยบางครั้งอาจพบว่าเด็กมีอาการซึมลง รับประทานอาหารน้อยลง หรืออาเจียนร่วมด้วย

ไข้แบบไหนเสี่ยงอาการชัก

สำหรับคุณหนูๆ ที่เป็นไข้ ใช่ว่าจะเสี่ยงจากอาการชักเสมอไปค่ะ เพราะหากมีไข้ต่ำๆ หมั่นเช็ดตัวและรับประทานยาลดไข้จนไข้ลดแล้ว ก็น่าจะวางใจได้ระดับหนึ่ง แต่ในกรณีที่มีไข้สูงมาก มีญาติพี่น้องที่มีประวัติภาวะชักจากไข้สูงในช่วงอายุไล่เลี่ยกัน หรือมีไข้ร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น เจ็บคอ ทอนซิลอักเสบ หรือเป็นหวัด ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการชักได้มากขึ้น

เกิดอะไรเมื่อลูกชักเพราะพิษไข้

โดยทั่วไปภาวะชักจากไข้สูง มักไม่มีผลต่อพัฒนาการหรือการเรียนรู้ของเด็กที่ปกติ ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน คือนานมากกว่า 30 นาที จนมีภาวะตัวเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน กรณีนี้อาจส่งผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไปอาการชักชนิดนี้มักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที ซึ่งมักไม่ส่งผลต่อสมองของลูก

อย่างไรก็ตามเมื่อเจ้าตัวน้อยมีอาการชัก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ มีดังนี้

ตั้งสติให้ดี แล้วจับลูกนอนตะแคง แต่ไม่ควรฝืนอาการชักของลูก เพราะอาจทำให้กระดูกหักได้ไม่จำเป็นต้องใช้ช้อนหรือของแข็งใดๆ งัดปากลูก เพราะโอกาสที่เจ้าตัวน้อยจะกัดลิ้นขณะชักนั้นมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับโอกาสที่จะบาดเจ็บจากการที่ฟันของลูกจะกระทบกับช้อนจนฟันหัก และอาจหลุดลงไปติดหลอดลมได้เมื่อลูกหยุดชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์

อาการภาวะชักจากไข้สูงป้องกันได้

การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขค่ะ ฉะนั้นเมื่อลูกเป็นไข้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ หมั่นเช็ดตัวให้ลูกน้อยอยู่เสมอ วัดไข้เพื่อเฝ้าดูอุณหภูมิของร่างกายลูกเป็นระยะ และเมื่อพบว่าลูกมีไข้ควรให้รับประทานยาลดไข้ ที่มีตัวยาพาราเซตตามอล ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ เทียบเท่ากับแอสไพริน แต่มีฤทธิ์ลดการอักเสบน้อยกว่า ไม่ยับยั้งการจับกลุ่มของเกร็ดเลือด และไม่มีผลต่อการขับยูริคในเลือด ซึ่งตัวยาพาราเซตตามอลจะดูดซึมได้ดีจากทางเดิน ออกฤทธิ์ได้ดีภายใน 30-60 นาที ก่อนจะถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่ตับ

โดย : ทีมงานคันปาก
อัพเดท : 24-09-58, 10:28 น.
แท็ก :
ที่มา :

http://www.mothersdigest.in.th


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)