พฤติกรรมน่ากลัวที่เด็กชอบเลียนแบบ พ่อแม่ควรใส่ใจ

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

พฤติกรรมน่ากลัวที่เด็กชอบเลียนแบบ พ่อแม่ควรใส่ใจ

พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็ก 

                พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็ก ที่มักทำตามพ่อแม่นั้นเกิดได้กับเด็กทุกคนเพราะพ่อแม่คือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด แต่การเลียนแบบนั้นเด็กอาจจะเลียนแบบทั้งสิ่งไม่ดีและสิ่งดีปะปนกันไป คุณพ่อคุณแม่จึงต้องระมัดระวังทั้งด้านการกระทำและคำพูดเมื่ออยู่ต่อหน้าลูก ซึ่งพฤติกรรมการเลียนแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยมีอายุประมาณ 2 ขวบเป็นต้นไป

                ในปัจจุบันนี้ คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจปล่อยปะละเลยพฤติกรรมการเลียนแบบของลูกน้อย เนื่องจากมักคิดว่าเด็กเล็กนั้นยังไร้เดียงสา ไม่เข้าใจในคำพูดหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใหญ่ แต่เด็กจะเลียนแบบและนำไปใช้โดยไม่รู้ว่ามันถูกหรือผิด และเด็กก็ยังรู้สึกสนุกไปกับการเลียนแบบพฤติกรรมเพื่อนวัยเดียวกันหรือคนรอบข้างอยู่เสมอ จนทำให้บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็แปลกใจว่าทำไมลูกของเราถึงมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุและไม่ทันนึกว่าเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่เด็กไปเรียนรู้มา จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อและคุณแม่ที่ต้องคอยสอนเขาว่าให้ทำอย่างไรโดยใช้เหตุผลมากกว่าการดุด่าว่าหรือตี เมื่อเขาเลียนแบบในสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะสิ่งที่ลูกทำนั้นเป็นเพราะเขายังแยกแยะไม่ได้ เพียงแค่เลียนแบบการกระทำดังกล่าวตามที่เขาได้เรียนรู้มาเท่านั้นเอง

พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็ก น่ากลัวหรือไม่?

                พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กนั้นน่ากลัวมากหากไม่ได้รับคำแนะนำหรือคำสั่งสอนจากผู้ใหญ่  เรื่องที่เป็นปัญหาใกล้ตัวมากที่สุดคือ พฤติกรรมการเลียนแบบของลูกที่ซึมซับมาจากคุณพ่อคุณแม่ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น หากคุณพ่อหรือคุณแม่มีพฤติกรรมชอบดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ให้ลูกเห็นเป็นประจำลูกน้อยก็อาจนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้เมื่อเขาโตขึ้น หรือพฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กที่อันตรายถึงชีวิตที่มักลงข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง เช่น เด็กผู้หญิงเลียนแบบการผูกคอตายในละครทีวีจนเสียชีวิต เป็นต้น

 

บทความแนะนำ

5 สาเหตุที่อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัว

ลูกโตแล้วแต่ยังฉี่รดที่นอนอยู่เลย

 

โดย : ทีมงานคันปาก
อัพเดท : 03-02-59, 13:15 น.
ที่มา :

maerakluke


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)