เล่น ”จ๊ะเอ๋” ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกรัก

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

เล่น ”จ๊ะเอ๋” ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกรัก

Dr. Caspar Addyman นักวิจัยด้านการหัวเราะของเด็กทารก จาก Birkbeck College ในกรุงลอนดอน บอกว่าเมื่อเบบี้ยิ้ม หัวเราะ โดยเฉพาะเมื่อเล่น”จ๊ะเอ๋” นั้น ความคิดของลูกกำลังทำงานอยู่เลย

การหัวเราะ ยิ้ม คือความมหัศจรรย์ เพราะการหัวเราะ ยิ้ม คือความมหัศจรรย์ เหมือนกับการร้องไห้ ที่เบบี้ใช้สื่อสารกับพ่อแม่และผู้คนรอบข้าง ซึ่งผลสรุปจาก 700 กว่าแบบสอบถามทั่วโลกเกี่ยวกับการยิ้มและหัวเราะของเบบี้นั้น Dr. Caspar พบว่าทารกยิ้ม เพื่อตอบสนองอารมณ์พึงพอใจของตนเองได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือนแล้ว และระหว่างอายุ 2 ถึง 4 เดือน การยิ้มเชิงสังคมจะเริ่มทำงาน โดยเบบี้วัยนี้จะยิ้มเพื่อสร้างสัมพันธ์กับพ่อแม่ ซึ่งงานวิจัยที่ Dr. Caspar ทำต่อ คือนำการหัวเราะของเบบี้มาเป็นแนวทางศึกษาว่าทารกสามารถเข้าใจโลกรอบตัวได้อย่างไร

การเล่นจ๊ะเอ๋ หรือ Peek-a-boo  การเล่นจ๊ะเอ๋ หรือ Peek-a-boo ของชาวตะวันตก คือสิ่งที่ Dr. Caspar ใช้หาคำตอบในเรื่องนี้ ด้วยเหตุผลว่าเด็กเล็กๆ นั้นยังมีประสบการณ์น้อยนิด และยอมรับเรื่องไร้สาระได้อย่างมีเหตุมีผล

ความสามารถในการเข้าใจเรื่องตลกของเด็กๆ Dr. Caspar เชื่อว่าเป็นพัฒนาการมาจากส่วนลึกของสมอง เขาจึงจัดทำ The Baby Laughter Project ขึ้น เพื่อทำวิจัยพ่อแม่ใน 20 กว่าประเทศทั่วโลก ผ่านการเล่นจ๊ะเอ๋ หรือ Peek-a-boo นี่ล่ะค่ะ ซึ่งเป็นวิธีแสดงพัฒนาการขั้นพื้นฐานอย่างชัดเจน เรื่องการคงอยู่ของวัตถุ แม้จะหายไปจากสายตาก็ตาม แต่เด็กเล็กๆ ดูเหมือนจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาว่าทำไมเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน เมื่อแม่เล่นจ๊ะเอ๋ด้วย จึงแสดงสีหน้าตกใจออกมา ตอนที่ผ้าบังหน้าแม่ เพราะคิดว่าเมื่อไม่เห็นหน้าแม่ แสดงว่าแม่หายไปแล้ว แต่เมื่อดึงผ้าบังหน้าแม่ลง แล้วได้เห็นแม่กลับมา จะแสดงสีหน้าประหลาดใจแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อโตขึ้น อายุระหว่าง 6 – 8 เดือน เด็กน้อยจะเริ่มเข้าใจมากขึ้นค่ะ ว่าการที่พ่อแม่หายไป เป็นเพราะซ่อนอยู่หลังผ้าเท่านั้น ทั้งเข้าใจด้วยว่าการเล่นจ๊ะเอ๋ หมายถึงสิ่งต่างๆ จะกลับคืนมา ไม่ได้หายไปไหน

Dr. Caspar บอกว่าการเล่นจ๊ะเอ๋ ยังเป็นวิธีสื่อสารหนึ่งของเด็กด้วย เพราะเมื่อเด็กเริ่มยิ้มและหัวเราะขณะเล่น เด็กกำลังเรียนรู้และพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่และสิ่งรอบตัวอยู่ โดยนักวิชาการเชื่อว่าการหัวเราะกับพัฒนาการด้านภาษาของเด็กมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ผู้ใหญ่จึงไม่อาจประมาทอารมณ์ขันของทารกได้ เพราะนั่นอาจหมายความว่าเจ้าตัวน้อยของคุณกำลังเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถ รวมถึงทักษะต่างๆ ของเขาอยู่ ถ้าการสบตาระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อย คือการสื่อสารที่เปี่ยมความหมาย บอกอะไรได้มากมาย อารมณ์ขันของเด็กๆ ก็เช่นเดียวกันค่ะ จำเป็นต้องได้รับการสนองตอบ พัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงจะก้าวรุดหน้า อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจจากผลวิจัยดังกล่าว คือ Dr. Caspar พบว่าเด็กเล็กๆ มีความสามารถจับจังหวะของบทสนทนา ผ่านเสียงหัวเราะและเกมที่กำลังเล่นได้ด้วย นั่นแสดงว่าการยิ้ม การหัวเราะ คือเครื่องมือสำคัญที่เด็กทารกใช้สื่อสารกับผู้คนรอบข้าง ก่อนที่จะเรียนรู้จักใช้ภาษา

การเล่นเกมจ๊ะเอ๋กับลูก จึงไม่ใช่แค่เรื่องสนุกที่คุณเล่นกับลูกเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่คุณกำลังช่วยพัฒนาสมองและทักษาะต่างๆ ของลูกให้เปี่ยมศักยภาพอีกด้วยค่ะ

 

บทความแนะนำ

ลูกเรียนไม่เก่ง…กลัวเอาตัวไม่รอด ควรทำอย่างไร?

ทำอย่างไรดี? ลูกรักติดน้ำหวาน ติดน้ำอัดลม

โดย : ทีมงานคันปาก
อัพเดท : 28-03-59, 09:41 น.
ที่มา :

Rakluke


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)