การรับมือลูกน้อยมีแผลในปาก ควรทำอย่างไร?

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

การรับมือลูกน้อยมีแผลในปาก ควรทำอย่างไร?

แผลในปากเด็กเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคและอายุของเด็ก

1. โรคเชื้อราในปากหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า“โรคซาง” พบได้ในเด็กอายุขวบปีแรก โดยโรคเชื้อราในช่องปากจะมีลักษณะเป็นปื้นขาวและแผลที่กระพุ้งแก้มร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการเจ็บและดื่มนมได้น้อยลง ซึ่งโรคนี้ต้องแยกให้ออกจากอาการลิ้นขาว มักพบได้ในเด็กปกติทั่วไป

2. แผลจากเชื้อเริม ในเด็กอาจจะเป็นตุ่มใสๆ หรือตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนกับแผลร้อนใน บางคนเป็นหลายๆ แผล ในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้มักเจ็บมาก บางคนเป็นมากจนรับประทานอะไรไม่ได้ มักเกิดในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน การได้รับเชื้อส่วนใหญ่มักบอกไม่ได้ว่าได้รับเชื้อจากที่ใคร เพราะคนที่ส่งเชื้อให้มักไม่ค่อยมีอาการหากมีเชื้อในน้ำลาย

การดูแลรักษา

1. อาการของแผลในปากในเด็กนั้น มักจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก คือ เป็นแผลขาวๆ ในปากเหมือนกัน แต่อาจสังเกตได้จากการดูอาการทั่วๆ ไป และดูตำแหน่งของแผล คือ ถ้าอาการทั่วๆ ไปดีมาก จำนวนแผลมีแค่ 1 แผล ไม่มีไข้ และอาจดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องไปพบคุณหมอ แต่หากมีแผลหลายแผล รวมทั้งมีไข้ร่วมด้วย หรือลูกมีอาการซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย ควรพาไปหาคุณหมอ สำหรับเด็กอ่อน แผลในปากอาจเกิดจากเชื้อรา ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อสั่งยาฆ่าเชื้อราให้

2. แผลในปากมักหายได้เองภายใน 3-7 วัน ลิ้นแผนที่จะดีขึ้นเมื่อเด็กหายป่วย การป้ายยาม่วง (เจนเชียนไวโอเล็ต) อาจช่วยให้อาการทุเลาและทำให้หายเร็วขึ้น

3. แผลในปากส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการเจ็บ การใช้ยาทาเฉพาะที่ทำได้ไม่สะดวกและช่วยให้อาการทุเลาเพียงชั่วคราวเท่านั้น แนะนำให้ดื่มน้ำและนมเย็น อมน้ำแข็ง หรือกินไอศกรีม ซึ่งจะช่วยให้ช่องปากเกิดอาการชา ทำให้อาการเจ็บลดลง สามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้มากขึ้น

วิธีป้องกัน

1. แผลหรือเชื้อราในช่องปากสามารถป้องกันให้ลูกน้อยได้โดยการรักษาความสะอาดในช่องปากหากเป็นเด็กที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรดื่มน้ำเพื่อล้างคราบนมออก เนื่องจากนมแม่มีสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา ในขณะที่เด็กซึ่งดื่มนมผสม จำเป็นต้องดื่มน้ำตาม เพื่อล้างคราบนมออกเสมอ

2. ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโรคติดเชื้อไวรัส เช่น การไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น การเดินเล่นในสถานที่ซึ่งมีผู้คนแออัด หรือการนำเด็กไปฝากเลี้ยงในสถานรับเลี้ยงเด็ก

3. หากแผลในปากของลูกเกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส และเชื้อในกลุ่มเริม วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ทั้งตัวลูก คุณพ่อคุณแม่และพี่เลี้ยง ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำร่วมกัน เวลารับประทานอาหารควรใช้ช้อนกลาง ในกรณีเด็กเล็กควรระวังของเล่นที่ลูกมักจะเอาเข้าปาก ก็ต้องมีการล้างทำความสะอาดด้วย หากลูกเป็นโรคมือเท้าปาก หรือเริ่ม ไม่ควรให้ไปเล่นกับเด็กคนอื่น เพราะเชื้อแพร่ติดต่อได้ง่าย สถานเลี้ยงเด็กอ่อนและโรงเรียนโดยเฉพาะอนุบาลจะให้เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากหรือเริม หยุดเรียน เพื่อจะได้ไม่เกิดการระบาดในโรงเรียน

 

Photo credit: mamaexpert.com

บทความแนะนำ

รับมือกับการทำความสะอาดช่องปากของลูกน้อย ที่พ่อแม่ควรรู้

วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก ต้องทำอะไรบ้าง?

โดย : Chang noye
อัพเดท : 29-06-59, 08:49 น.
ที่มา :

amarinbabyandkids


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)