ตามใจลูกน้อยเกินไป พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

ตามใจลูกน้อยเกินไป พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

การที่พ่อแม่ตามใจลูกน้อยมากเกินไปเป็นข้อผิดพลาดปกติของการเลี้ยงลูก จะส่งผลย้อนกลับคืนสู่พ่อแม่เสมอ และเปลี่ยนให้ลูกน้อยเป็นเด็กเอาแต่ใจ ฉะนั้นก่อนที่คุณพ่อคุณแม่จะพลั้งเผลอตามใจลูกน้อยอีกค่ะ

วิธีปราบลูกน้อยเอาแต่ใจ

1. ตั้งข้อจำกัดกับของขวัญ

ของขวัญที่มีความหมายนั้นให้คุณค่าทางจิตใจมากกว่าของขวัญกองโต การตั้งข้อจำกัดสำหรับของขวัญจะกระตุ้นความเอาใจใส่และการคิดพิจารณาของเด็กๆ มากขึ้น และยังเป็นการย้ำว่าทุกคนจะได้สัมผัสทั้งการให้และการรับอย่างเท่าเทียมกัน และขอให้จำไว้ว่า ของขวัญทำมือ เช่นงานศิลปะ หรือแต่งกลอน จะสร้างความทรงจำที่ยืนยาวกว่าสิ่งของธรรมดาๆ

2. รักษากำหนดเวลาและกฎในบ้าน

พ่อแม่มักจะปล่อยปละเวลานอน เวลาช่วยงานบ้าน และกฎในบ้านข้ออื่นๆ ในช่วงเทศกาล ถ้าไม่มีกฎ ความประพฤติของเด็กๆ จะย่ำแย่ลง เช่น ถ้าลูกของคุณสามารถกินขนมได้ไม่จำกัด ตื่นตลอดคืน นอนหลับทั้งวัน เราจะได้พบกับความเสียหาย อารมณ์ร้าย และอาการ “พาล” ของลูกแน่นอน การหย่อนยานช่วงเทศกาลนี่เองเป็นสาเหตุหลักของพฤติกรรมเจ้าปัญหาของเด็ก

3. เน้นของขวัญที่เสริมสร้างคุณค่าในตัวลูก

ควรหาของขวัญที่ช่วยเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษ หรือทักษะการเคลื่อนไหว เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์ศิลปะ อุปกรณ์ถ่ายภาพ เป็นต้น เด็กๆ ชอบการค้นหาความสามารถใหม่ๆ ของตัวเอง สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกมี self-esteem ที่แข็งแกร่งขึ้น และเสริมความมั่นใจด้วย ทั้งยังทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าเขาไม่จำเป็นต้องมีสิ่งของมากมายเพื่อให้รู้สึกดีต่อตัวเอง

4. สอนให้รู้จักความสุขของการให้

เด็กๆ ที่มีพ่อแม่ส่งเสริมการให้ของขวัญกับผู้อื่นจะเรียนรู้ได้ดีกว่าในเรื่องสังคมและความเชื่อมโยงกันระหว่างคน ให้ช่วยลูกๆ เรียนรู้คุณค่าของการให้โดยพาไปร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ เช่น งานอาสาสมัคร หรือช่วยผู้ที่ลำบาก การให้แบบนี้ล่ะที่เป็นแก่นแท้ของช่วงเทศกาลอย่างแท้จริง จริงไหม?

 

Photo credit: sg.theasianparent.com

บทความแนะนำ

7 เทคนิครับมือไม่ให้ลูกน้อยเอาแต่ใจตัวเอง

7 สัญญาณเตือน ว่าลูกรักจะเป็นเด็กเอาแต่ใจ

โดย : Chang noye
อัพเดท : 07-07-59, 09:11 น.
ที่มา :

amarinbabyandkids


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)