
พัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิด – 12 เดือน อย่างสมวัยเป็นอย่างไร?
ตั้งแต่แรกคลอด ลูกน้อยก็เริ่มมีพัฒนาการ คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในทุกๆวัน ว่าลูกน้อยของเรานั้นมีพัฒนาการสมวัยหรือไม่ เพราะการติดตามพัฒนาการของลูกนั้นสำคัญมาก หากลูกมีพัฒนาการที่ล้าช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนในเรื่องอื่นๆได้ด้วยค่ะ
ลูกน้อยวัย 0 – 30 วันหรือ ทารกแรกเกิด เด็กจะจ้องใบหน้าเมื่อผู้ใหญ่ยื่นหน้าเข้าไปใกล้ และสามารถจดจำใบหน้านั้นได้ เมื่อได้ยินเสียงก็จะมองหาและพยายามมองตามใบหน้าของผู้ใหญ่ที่เคลื่อนไหว
ลูกน้อยวัย 1 เดือน หากยื่นหน้าเข้าใกล้ทารกในระยะมองเห็น ทารกจะมองใบหน้า และหากพูดคุยด้วยทารกก็จะพยายามขยับริมฝีปาก ถ้าหากทารกร้องไห้ก็จะเงียบเมื่อมีคนอุ้มเข้าสู่อ้อมกอด
ลูกน้อยวัย 1เดือนครึ่ง ทารกจะยิ้มให้ และจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ เช่น โมบาย
ลูกน้อยวัย 2 เดือน ทารกจะมองตามกรุ๋งกริ๋งที่เคลื่อนผ่านสายตาไปมา ทารกบางคนถือกรุ๋งกริ๋งชิ้นเล็กๆที่มีน้ำหนักเบาไว้ในมือได้
ลูกน้อยวัย 3 เดือน ทารกจะยิ้มเมื่อมีคนพูดคุยด้วย และสามารถส่งเสียงตอบอ้อแอ้อย่างอารมณ์ดี
ลูกน้อยวัย 4 เดือน ชอบหยิบของเล่นเข้าปาก หัวเราะเสียงดังเมื่อมีคนเล่นด้วย พลิกคว่ำได้ ชอบให้จับลุกขึ้นนั่ง
ลูกน้อยวัย 5 เดือน ใช้แขนสองข้างยกอกพ้นพื้นได้ หมุนตัวไปรอบๆที่นอน เมื่อจับลุกขึ้นยืนเท้าทั้งสองข้างจะวางบนพื้น
ลูกน้อยวัย 6 เดือน ทารกบางคนสามารถนั่งได้ ชอบเล่นกระจกเงา ชอบเลียนแบบเล่นริฝีปาก เดาะลิ้น บางคนชอบเล่นน้ำลายเป็นฟอง
ลูกน้อยวัย 7 เดือน นั่งได้มั่นคง ทารกบางคนจะกลัวคนแปลกหน้า
ลูกน้อยวัย 8 เดือน เริ่มคลานได้ รู้จักชื่อตัวเอง เริ่มเข้าใจคำว่า “อย่า”หรือ “ไม่”เริ่มหัดพูด
ลูกน้อยวัย 9 เดือน เริ่มแสดงความต้องการโดยการชี้หรือสื่อให้ผู้เลี้ยงดูทราบว่าตนต้องการอะไร เริ่มสำรวจสิ่งของที่อยู่ในตู้เก็บของ ลิ้นชักโต๊ะหรือในกล่อง เหนี่ยวเฟอร์นิเจอร์ลุกขึ้นยืนเองได้
ลูกน้อยวัย 10 เดือน เริ่มตบมือได้ บ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจคำพูดง่ายๆสั้นๆ เกาะยืนได้
ลูกน้อยวัย 11 เดือน เริ่มตั้งไข่ ชอบส่งเสียงดัง ชอบโยนของเล่น
ลูกน้อยวัย 12 เดือน เริ่มเดินได้ เริ่มพูดเป็นคำ ชอบดูภาพในหนังสือ เริ่มฟังประโยคสั้นๆเข้าใจ
Photo credit: pixabay.com
บทความแนะนำ
พัฒนาการกล้ามเนื้อเท้าและขาลูกน้อยวัยแรกเกิด-12 เดือน เป็นอย่างไร?
4 สิ่งที่ส่งผลต่อพัฒนาการลูกน้อย...
mamaexpert