ความกลัวในเด็ก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

ความกลัวในเด็ก พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

อารมณ์กลัวเกิดได้กับเด็กทุกคน ความกลัวของเด็กนั้นพัฒนาได้จากคุณพ่อคุณแม่และสิ่งแวดล้อมรอบตัวของลูก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจกับพัฒนาการด้านความกลัวของเด็กๆ ก่อนนะคะ..

แม้ว่าสายตาและมุมมองของผู้ใหญ่ต่อสิ่งต่าง ๆ จะมองจากความเป็นจริง และสามารถจัดการกับความรู้สึกไม่มั่นคงได้ แต่เด็กอาจต้องฝึกกันนิดหน่อย ซึ่งวิธีการก็ไม่ยากจนเกินไป โดยต้องเริ่มจาก

เรื่องหลัก ๆ ที่เด็กกลัว

1. กลัวความมืด กำจัดความกลัวได้ด้วยการ ที่พ่อแม่ค่อยๆ ทำความเข้าใจ  ทำให้ลูกรู้สึกอุ่นใจ กอดและพูดคุย  ไม่ใส่อารมณ์หงุดหงิด ตวาด หรือเถียงเขา ควรฟังว่าทำไมเขาถึงกลัวความมืด พร้อมปลอบลูกว่าไม่มีอะไรน่ากลัวเกิดขึ้น  ไม่ควรขู่ หรือให้ลูกดูหนังที่น่ากลัว เพราะเด็กมีความกลัวที่จินตนาการขึ้นมากพอแล้ว พาลูกออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือหากิจกรรมให้ทำ หรือพาไปที่ที่ เพื่อลดความกลัวของเขาลง หรือเปิดไฟสลัวๆ ไว้

2. กลัวสัตว์ สัตว์ที่ว่านี้อาจเป็นสัตว์ที่ลูกเคยเจอหรือไม่เคยเจอมาก่อนก็ได้ เวลาที่ลูกบอกว่าเขากลัวสัตว์ชนิดไหน พ่อแม่ไม่ควรพาไปสัมผัสใกล้ๆ เพราะคิดว่าจะทำให้ลูกหายกลัวได้เร็ว  ควรรอให้ลูกคลายความกลัวลงก่อน และอยากที่จะเข้าใกล้เองดีกว่า

3. กลัวน้ำ ลูกอาจคุ้นเคยกับการเล่นน้ำในอ่างใบเล็ก แต่เมื่อเจอสระว่ายน้ำที่ใหญ่กว่ามาก หรือเจอทะเลที่กว้างสุดลูกหูลูกตา เด็กอาจเกิดความกลัวขึ้นได้ง่าย  ผู้ใหญ่ไม่ควรฝืนพาลูกลงน้ำทั้งๆ ที่ลูกกลัว รอให้เขาค้นพบด้วยตัวเองว่ากการเล่นน้ำสนุกมากขนาดไหน แล้วลูกจะเลิกกลัวเอง

สาเหตุของความกลัว

1. เด็กที่อยู่แต่ในบ้าน หรือเด็กที่พ่อแม่ปกป้องมากจนเกินไป ไม่กล้าที่จะออกมาทำกิจกรรมข้างนอก เมื่อเจอในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย จึงทำให้เกิดความกลัวได้ง่าย

2. ให้ลูกดูทีวีที่มีเรื่องราวน่ากลัว มีความรุนแรง เด็กจะเก็บไปจินตนาการต่อกลายเป็นความกลัวอย่างจริงจัง

3. บางครั้งเด็กยังไม่สามารถแยกระหว่างความจริงและเรื่องสมมติได้ เด็กมีจินตนาการที่กว้างไกล และเขาใช้จินตนาการเหล่านี้ในการสร้างสรรค์ เทพธิดา นางฟ้า แม่มด รวมไปถึงสัตว์ประหลาดต่างๆที่ทำให้เขากลัวด้วย แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้น เขาจะเรียนรู้ที่จะแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนจริงและสิ่งไหนเป็นความเพ้อฝันได้

4. ผู้ใหญ่ชอบหลอกเพราะง่ายต่อการปกครองและดูแล บางครั้งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กกลัวนั้นมาจากผู้ใหญ่ การพูดไม่จริงเพื่อให้เด็กทำในสิ่งที่เราต้องการ เป็นผลเสียมากกว่าผลดี เช่น บอกเด็กๆ ว่าอย่ามุดเล่นใต้เตียงนะ เดี๋ยวผีมาหลอก หรืออย่าเล่นซ่อนแอบในเวลากลางคืน เดี๋ยวผีมาเอาตัวไปเป็นต้น อย่าหลอกเด็กเพื่อให้เขาทำในสิ่งที่เราต้องการ เพราะความกลัวนั้นจะติดตัวไปกับเด็กๆ และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วบางครั้งพวกเขาไม่สามารถกำจัดความกลัวนั้นออกไปได้ และจะเป็นผลเสียตามมา

5. เคยมีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านั้นมาก่อน เช่น เด็กบางคนกลัวการขี่จักรยานบนท้องถนน หรือกลัวแมงกะพรุนไฟ ความกลัวนี้เป็นความกลัวที่เกิดขึ้น เพราะเด็กเคยมีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านี้มาก่อน ทำให้เด็กมีความกลัวฝังใจกับสิ่งเหล่านี้ เป็นต้น

หลักการช่วยเหลือเด็กให้เอาชนะความกลัว

1. สอนวิธีเผชิญหน้ากับความกังวลใจ พ่อแม่สามารถสอนลูกถึงวิธีโต้ตอบเมื่อเขากังวลใจ

2. ค่อยๆ ขจัดปฏิกิริยาโต้ตอบ วิธีส่งเสริมลูกให้เผชิญหน้ากับความกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือ การค่อยๆ เปิดรับ ปล่อยให้ลูกกำหนดระยะ และไม่บังคับให้เขาทำสิ่งใดๆ โดยไม่สะดวกใจ

3. สอนให้ผ่อนคลาย การผ่อนคลายช่วยให้เด็กปลดปล่อยอารมณ์ที่เกิดจากความกังวลใจ  มีเทคนิคของผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวพันถึงการให้เด็กจินตนาการ หรือพัฒนาด้วยมโนภาพที่ผ่อยคลาย

 

Photo credit: women.mthai.com

บทความแนะนำ

พฤติกรรมน่ากลัวที่เด็กชอบเลียนแบบ พ่อแม่ควรใส่ใจ

5 สาเหตุที่อาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัว

โดย : Chang noye
อัพเดท : 12-07-59, 11:25 น.
ที่มา :

amarinbabyandkids


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)