
ลูกน้อยชอบผวา คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?
อาการผวาในทารก เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ ที่เรียกว่า Moro reflex พบได้บ่อยครั้งไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างไร และยังถือเป็นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัยของทารกด้วย จะพบมากในช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก หากได้รับการกระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็เกิดการผวาได้ เช่น เสียงดัง แสงจ้า ลูกก็จะผวาขึ้นมาได้ทันที
สำหรับลูกน้อยแล้ว เป็นเรื่องปกติธรรมดา อาการนี้จะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้นเรื่อยๆ ส่วนสาเหตุภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้เด็กทารกสะดุ้งหรือผวามี 2 ปัจจัย คือ
1.ความไวต่อเสียง
ควรเปิดเพลงเบาๆ โดยเฉพาะเพลงที่เคยได้ยินขณะอยู่ในครรภ์ หรือแง้มประตูห้องไว้เพื่อให้ได้ยินเสียงพ่อแม่พูดคุย เสียงกิจวัตรประจำวันของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมรอบบ้าน แต่ไม่ควรดังเกินไปเพราะจะเป็นอันตรายต่อระบบการเจริญเติบโตของหูและสมองของเด็ก
2.สะดุ้งจากการฝัน
ควรสังเกตเห็นว่าเปลือกตาของทารกจะไหวไปมาขณะหลับนั่นเป็นเพราะเด็กทารกตอบสนองต่อสิ่งที่กำลังฝัน แต่เด็กเล็กๆ จะไม่มีฝันร้าย จะมีเพียงรูปภาพโดยจะฝันมากสุดใน 2 สัปดาห์แรก แล้วจะค่อยๆ ลดลงเมื่อโตขึ้นจนหลังอายุ 3 ปี จึงฝันเท่ากับผู้ใหญ่ ขณะที่ทารกฝันสมองของเขาจะทำงาน เซลล์สมองมีการเชื่อมกันตลอดเวลาและมีส่วนสำคัญมากต่อพัฒนาการด้านการคิด
แนวทางแก้ไขเมื่อทารกสะดุ้งหรือผวา
- ใช้ผ้าห่อตัว เพราะจะทำให้ทารกน้อยรู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่ในครรภ์แม่ แต่ควรเลือกผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่เป็นเมืองร้อนของบ้านเรา ถ้าอยู่ในห้องปรับอากาศก็ให้ใช้ผ้าห่อตัวแบบปกติทั่วไปหรือผ้าเช็ดตัว
- ให้เด็กนอนคว่ำ วิธีนี้ใช้ได้ผลเกือบ 100% เลยทีเดียว แต่เหมาะสำหรับทารกที่คอเริ่มแข็งแรงหรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 3,500 – 4,000 กรัม ซึ่งอายุแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป และที่นอนควรแบนเรียบแต่นุ่ม ไม่ควรเป็นที่นอนแบบยุบตัวอาจทำให้เด็กหายใจลำบาก
- ใช้ผ้าหนาหน่อยพับเท่าฝ่ามือพาดทับหน้าอกของทารกน้อยขณะหลับจะช่วยลดอาการสะดุ้งได้
- นอนตะแคง เหมาะสำหรับทารกแรกเกิด หรือทารกน้ำหนักต่ำกว่า 3,500 กรัมขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของแต่ละคน ควรนำหมอนวางรองด้านหลังของเด็กด้วย
Photo credit: women.sanook.com
บทความแนะนำ
ลูกน้อยนอนผวา เป็นอันตรายหรือไม่
รู้ยัง เมื่อเจ้าตัวเล็กนอนผวาควรทำอย่างไร
women.sanook