เช็คพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อย วัย 1 – 2 เดือน

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

เช็คพัฒนาการที่สมวัยของลูกน้อย วัย 1 – 2 เดือน

คุณแม่คงมีความสุขกับสิ่งมหัสจรรย์น้อยๆนี้เป็นอย่างมาก เมื่อเข้าสู่เดือนที่1 ลูกคุณแม่จะเริ่มอ้อน เริ่มเรียนรู้สิ่งแวดใกล้ตัว เริ่มจดจำเวลากลางวันกลางคืน  กำมือแน่น บางคนเก่งหน่อย ฝึกกล้ามเนื้อคอ ด้วยการชันคอขณะคว่ำ เริ่มโชว์พัฒนาการกันแล้วแน่นอนเลย

ตรวจเช็คพัฒนาการทารก วัย 1 – 2 เดือน

1. ขณะนอนคว่ำ ลูกสามารถยกคอขึ้นจากเบาะ ในระยะเวลาสั้นๆ

2. ส่งเสียงเบาๆ เช่น ฮัม ฮัม เสียงในลำคอ

3. จ้องหน้าคุณแม่ ถึงแม่จะมองไม่ชัด แต่ลูกจะสนใจหน้าคนเป็นพิเศษ

4. มองตามสิ่งเคลื่อนไหว

5. ผวาตกใจเมื่อมีเสียงดัง

6. ยิ้ม แต่ไม่ได้หมายถึงการพึงพอใจ เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติตามวัย

7. เคลื่อนไหวแขนขาทั้ง 2 ข้าง

การกระตุ้น พัฒนาการทารก วัย 1 – 2 เดือน

1. ยื่นหน้าคุณแม่เข้าใกล้ลูกบ่อยๆในระยะ 1ฟุต

2. นวดสัมผัสเพื่อในอารมณ์ดี กระตุ้นการขับถ่าย

3. ยกแขนขา จั๊กจี๋ ให้ลูกยิ้ม

4. โอบกอด อุ้ม พลังความอบอุ่นกระตุ้นให้ลูกหลั่งสารแห่งความสุขออกมา

5. พูดคุยกับลูกบ่อยๆเบาๆ หรือกล่อมลูกก่อนนอน

การดูแลทารก วัย 1 – 2 เดือน

1. ลูกหิวบ่อย และดูโยเยมากขึ้น

2. แหวะนม  อาเจียน  อาการดังกล่าวหากเกิดไม่ถี่จนเกินไป ถือว่าปกติ เกิดจากหูรูดกระเพาะอาหารทำงานไม่สมบูรณ์ หากบ่อยครั้ง อาเจียนพุ่ง ควรพบแพทย์ อาจมีภาวะกรดไหลย้อน

3. ขับถ่ายลดจำนวนครั้งลงแต่ปริมาณของอุจจาระ จะมากขึ้น ถ่ายปกติของเด็กที่ดื่มนมแม่อย่างเดียว จะมีสีเขียว สีเขียวปนเหลือง สีเหลืองเข้ม  สีเหลืองทอง สีเหลืองอ่อนๆ สีเหลืองมีจุดๆคล้ายเม็ดมะเขือปน ถือว่าเป็นปกติของถ่ายนมแม่

4. ถ่ายนมผสม (นมผง) เปลี่ยนไปตามยี่ห้อของนม ส่วนมากเป็นสีเหลืองทอง ไม่เหลว

5. ถ่ายผิดปกติ ได้แก่ ถ่ายดำ ถ่ายปนเลือด ถ่ายเป็นมูก ถ่ายสีชอล์ก ถ่ายเป็นน้ำมากกว่าเนื้อ 4 ครั้งติดต่อกันควรพบแพทย์

6. อาบน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น  สระผม 1 ครั้งควรปรับอุณภูมิเป็นน้ำก๊อกปกติไม่จำเป็นต้องอาบน้ำอุ่น

7. ผิวแห้งเป็นขุย อาจต้องทาออยส์ โลชั่นสำหรับเด็ก แต่ต้องทดสอบการแพ้ ด้วยการทาที่ท้องแขนลุกนิดหน่อย ทิ้งไว้ 30 นาที หากไม่มีผื่นขึ้น แสดงว่าไม่แพ้ สามารถใช้ยี่ห้อนั้นได้

8. สวมใส่เสื้อผ้าแบบสบายๆ ไม่ห่อตัว

9. นอนตะแคง นอนหงายได้ตามปกติไม่หนุนหมอน ถ้าต้องการให้นอนคว่ำ คุณแม่ต้องอยู่ด้วยตลอดเวลา ป้องกันการเกิด ภาวะ Sudden Infant Death Syndrome หรือย่อว่า SIDS โรคตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กทารก

10. งด สวมถุงมือ ถุงเท้า  แนะนำให้ตัดเล็บให้สั้น แทนการสวมถุงมือ  เพราะการสวมถึงมือ เป็นการปิดกั้นพัฒนาการลูก เด็กวัยแรกเกิดหากใช้มือสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง กำๆ แบๆ บ่อยๆ เป็นการเสริมสร้างเส้นใยประสาท เป็นการกระตุ้นที่ดีมาก

 

Photo credit: pixabay.com

บทความแนะนำ

พัฒนาการลูกน้อยวัยแรกเกิด – 12 เดือน อย่างสมวัยเป็นอย่างไร?

มารู้จักพัฒนาการลูกน้อย วัย 3เดือน กันเถอะ!!!

โดย : Chang noye
อัพเดท : 15-07-59, 10:35 น.
ที่มา :

mamaexpert


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)