การกำจัดน้ำมูกลูกน้อย ที่พ่อแม่สามารถทำได้เองง่าย ๆ

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

การกำจัดน้ำมูกลูกน้อย ที่พ่อแม่สามารถทำได้เองง่าย ๆ

โรคเด็กเล็กคงหนีไม่พ้นโรคหวัดและตามมาด้วยน้ำมูก หากเป็นในทารกเสี่ยงอุดกั้นทางเดินหายใจ แล้วจะจัดการน้ำมูกให้ลูกน้อยอย่างไร ตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

เมื่อทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กมีน้ำมูกจะไม่สามารถสั่งน้ำมูกหรือบ้วนเสมหะเองได้ จึงอาจแห้งกรังติดบริเวณจมูกหรือไหลลงคอ กลายเป็นเสมหะเหนียวเคลือบทางเดินหายใจส่วนบน และเมื่อนอนหลับกล้ามเนื้อที่ลิ้นและโคนลิ้นจะคลายตัวลงไปด้วย ลิ้นจึงตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้ลูกน้อยหายใจไม่สะดวก มีเสียงดังครืดคราดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูดนมหรืออากาศเย็นในช่วงกลางคืน ซึ่งคุณหมอไม่แนะนำให้ยาลดน้ำมูกนะคะ เพราะจะทำให้น้ำมูกหรือเสมหะเหนียวมากและหายใจลำบากยิ่งกว่าเดิม

คุณแม่สามารถให้การดูแลเบื้องต้นโดยการจัดท่าให้นอนตะแคง หรือนอนคว่ำ ระวังอย่าให้คอพับนะคะ หากน้ำมูกมีปริมาณมากจนมีเสียงดังครืดคราดหรือหายใจลำบาก ให้ใช้ไฟฉายส่องดูว่ารูจมูกมีน้ำมูกอุดตันหรือไม่ ถ้ามีอยู่ตื้น ๆ อาจใช้สำลีพันปลายไม้ขนาดเล็ก ๆ จุ่มน้ำเกลือทางการแพทย์ (มีจำหน่ายในร้านขายยา) เล็กน้อย เพื่อเช็ดน้ำมูกที่เหนียวเป็นก้อน ๆ หรือแห้งกรังออกมา แต่ถ้าน้ำมูกอยู่ลึก หรือมองไม่เห็นทั้งที่มีอาการ ควรทำการดูดน้ำมูกโดยจัดท่าให้ลูกนอนหงาย หยอดน้ำเกลือทางการแพทย์ในจมูกข้างละ 3-5 หยด เพื่อให้น้ำเกลือชะความเหนียวของน้ำมูกออกมา จากนั้นใช้ลูกยางดูดเสมหะโดยการบีบลมออกก่อนแล้วจ่อบริเวณรูจมูก ปล่อยมือเพื่อให้เกิดแรงดูดน้ำมูกออกมา จากนั้นบีบล้างน้ำมูกที่อยู่ในลูกยางลงทิ้งไป แล้วเริ่มทำซ้ำอีกครั้ง หากลูกมีน้ำมูกบ่อยให้ทำเช้า-เย็น และก่อนนอน เพื่อลดการสะสมของน้ำมูก นอกจากนี้อาจเคาะปอดร่วมด้วย จะช่วยให้ลูกสบายขึ้นได้ค่ะ

 

Photo credit: momjunction.com

บทความแนะนะ

วิธีดูดน้ำมูกลูกน้อย เรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ

เคล็ดลับการลดน้ำมูก ช่วยให้ลูกรักสบายตัว

โดย : Chang noye
อัพเดท : 22-07-59, 14:06 น.
ที่มา :

baby.kapook


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)