ลักษณะการชักของลูกน้อยแรกเกิด ที่พ่อแม่ควรระวัง!!!

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

ลักษณะการชักของลูกน้อยแรกเกิด ที่พ่อแม่ควรระวัง!!!

หน้าฝนแบบนี้โอกาสที่ลูกน้อยอาจเจ็บป่วยด้วยอาการไข้ ปวดหัว ตัวร้อน ซึ่งหากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ เราก็คงดูแลตัวเองได้ดีพอสมควร และไม่ต้องระวังอะไรมากนัก แต่เมื่อใดก็ตามที่อาการไข้เกิดขึ้นกับลูกน้อย ควรจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะลูกน้อยอาจชักได้ค่ะ ลองมาสักเกตอาการชักของลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ

ลักษณะของการชัก แบ่งออกได้เป็น 4 แบบใหญ่ๆ คือ

1. Subtle seizure

เป็นอาการชักที่พบมากที่สุดของการชักในทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่ไม่มี EEG ผิดปกติ พบในทารกเกิดก่อนกำหนดมากกว่าทารกครบกำหนด  บางครั้งอาการเหล่านี้อาจถูกมองข้ามไป โดยจะมีอาการทั้งทางการเคลื่อนไหว และทางตา ขณะเดียวกันการหยุดหายใจในทารกแรกเกิดก่อนกำหนดส่วนมากไม่ได้เกิดจากการชัก และหากการหยุดหายใจเกิดจากการชัก ในทารกแรกเกิดครบกำหนดอาจพบการมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่น ไฟฟ้าสมอง

2. Clonic seizure

การชักแบบนี้มักมี EEG ผิดปกติบ่อยสุดเมื่อเทียบกับการชักแบบอื่นๆ โดยจะมีอาการกระตุกซ้ำๆ เป็นจังหวะ 1 – 2 ครั้ง/วินาที แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

Focal clonic seizure จะกระตุกที่ใบหน้า ลำตัว แขน ขา ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และพบบ่อยว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัวขณะและหลังชัก

Multifocal clonic seizure จะมีการกระตุ้นเหมือนแบบแรก หากแต่มีการเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง เช่น เคลื่อนที่จากแขนไปขา หรือจากขาไปแขน หรือจากซีกหนึ่งไปยังอีกซีกหนึ่ง พบในทารกแรกเกิดครบกำหนดมากกว่า

3. Tonic seizure

จะมีอาการเกร็ง แข็งค้างอยู่ ซึ่งมีได้ 2 ลักษณะ เช่นกันคือ

Focal tonic seizure คือเกร็งเฉพาะที่คอ ลำตัว แขน และ/หรือ แขน ขา ที่ใดที่หนึ่ง มักพบร่วมกับการมีคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติ

Generalized tonic seizure คือเกร็งทั้งตัว รวมทั้งแขน ขา ทั้งสองข้าง คลื่นไฟฟ้าสมองมักจะปกติ พบได้บ่อยในรายที่มีเลือดออกในช่องสมองอย่างรุนแรง

4. Myoclonic seizure

การชักลักษณะนี้ต่างจาก clonic seizure ตรงที่การชักลักษณะนี้ จะกระตุกเร็วกว่า และมักจะเกิดเฉพาะกับกล้ามเนื้อกลุ่มพับงอ (flexor group)  ซึ่งอาการชักในทารกแรกเกิดมีหลายลักษณะ บางครั้งอาการแสดงที่มองดูเหมือนไม่ใช่อาการชัก กลับเป็นอาการชักชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกันอาการที่มองดูเหมือนเป็นอาการชักกลับไม่ใช่ ดังนั้นพยาบาลควรจะมีความรู้และเข้าใจถึงอาการและชนิดของการชักในทารกแรกเกิด เพื่อจะได้เฝ้าระวังและมีความไวต่อความผิดปกติแต่แรกเริ่ม รายงานแพทย์ได้ทันท่วงที เพื่อแพทย์จะได้นำไปเป็นแนวทางในการวินิจฉัย ให้การรักษาและติดตามประเมินการตอบสนองต่อการรักษาต่อไป

 

Photo credit: guruobgyn.com

บทความแนะนำ

ควรระวัง!!! ลูกเป็นไข้แล้วชัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทำไงดีเมื่อลูกชักเพราะพิษไข้

โดย : Chang noye
อัพเดท : 25-07-59, 14:37 น.
แท็ก : ลูกน้อย
ที่มา :

mamaexpert


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)