พ่อแม่ควรรู้... ลูกน้อยจำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีสุกอีใสไหม?

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

พ่อแม่ควรรู้... ลูกน้อยจำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีสุกอีใสไหม?

อีสุกอีใส หลายๆคนเรียกสั้นๆว่า สุกใส เป็นโรคที่ไม่มีใครอยากพบเจอเลยเพราะมีอาการน่ากลัวโดยเฉพาะรอยแผลเป็นจากตุ่มพุพอง แต่โดยธรรมชาติแล้วแต่ละคนต้องได้รับเชื้อนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อเป็นแล้ว โอกาสเกิดซ้ำน้อยมากๆ เพราะร่างกายได้มีภูมิคุ้มกันแล้ว อีสุกอีใส เกิดจากเชื้อ Varicella Zoster Virvs  ทำให้เกิดผื่นลักษณะพุพองที่ผิวหนัง และน้ำจากตุ่มพองนั้นเมื่อนำไปตรวจจะพบเชื้อจำนวนมากซึ่งสามารถติดผู้อื่นได้ หลายคนสงสัยว่า มีวัคซีนป้องกันอยู่จะกลัวอะไร แต่อีกหลายคนกลับมองว่า เป็นวัคซีนสิ้นเปลืองฉีดแล้วก็ไม่ 100%  ความเป็นจริงคุณแม่จำเป็นต้องจ่ายค่าวัคซีนตัวนี้มากน้อยแค่ไหนกัน เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนอีสุกอีใสให้มากขึ้นกันค่ะ

วัคซีนอีสุกอีใส

วัคซีนอีสุกอีใสเป็นวัคซีนผงแห้งที่เตรียมมาจากเชื้อไวรัสอีสุกอีใสซึ่งยังมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การฉีดแบ่งตามความเหมาะสมของช่วงอายุดังนี้

1.ช่วงอายุ 1-12 ปี ฉีด 1 เข็ม

2.ช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไปฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่ 1 ต้องห่างจากเข็มที่2 เป็นเวลา 4 – 8 สัปดาห์

3.กุมารแพทย์บางโรงพยาบาลแนะนำให้ฉีกช่วงอายุ 10 ปีขึ้นไปเพื่อให้มีโอกาสติดเชื้อโดยธรรมชาติในช่วงอายุน้อย ๆ ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงก่อน และเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

1. อาการเจ็บปวดเฉพาะที่

2. มีผื่นขึ้นหรือตุ่มใสๆคล้ายๆกับที่พบในคนที่เป็นไข้อีสุกอีใส ไม่มาก พบได้หลังฉีกวัตซีน 5 – 10 วันไปแล้ว

3. มีไข้

ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส

1. ทุกวัยสามารถเข้ารับวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสได้เลย แต่ทางการแพทย์เห็นว่า การให้ในเด็กที่มีอายุ 10 ปีขึ้นและไม่เคยเป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดมาก่อน ไปจะให้ผลคุ้มค่ากว่าเพราะในช่วงอายุดังกล่าวพบว่ามักมีอาการรุนแรงกว่าช่วงวัยเด็กเล็ก

2. ผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวควรฉีดวัคซีนสุกใสในช่วงที่มีสุขภาพแข็งแรง

3. ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี แนะนำให้ฉีดวัคซีนอีสุกอีใสในช่วงที่มีสุขภาพทั่วไปดี

ข้อควรระวังในการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

1.ห้ามฉีดในคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้  ควรฉีกก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน

2.ห้ามฉีกในคุณแม่ให้นมบุตร

3.ห้ามฉีดขณะที่มีไข้สูงหรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน

4.ห้ามฉีดในคนที่แพ้ยานีโอมัยซิน

5.ห้ามฉีดในผู้ป่วยที่ได้รับการให้เลือดหรือภัณฑ์ของเลือด และอิมมูโนโกลบุลิน ต้องแจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมเสียก่อน

 

Photo credit: health.kapook.com

บทความแนะนำ

ส่าไข้ต่างจากหัดและอีสุกอีใสอย่างไร?

วิธีป้องกันโรคอีสุกอีใสที่จะเกิดขึ้นในเด็ก

โดย : Chang noye
อัพเดท : 25-07-59, 15:01 น.
ที่มา :

mamaexpert


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)