ลูกน้อยเป็นร้อนในปาก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร?

เว็บไซต์คันปาก โดนใจทุกคลิก

ลูกน้อยเป็นร้อนในปาก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร?

อาการร้อนใน พบได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่แบเบาะจนถึงวัยเรียน อาการร้อนในเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันอาการแสดงทีคุณแม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนคือ ภายในช่องปากลูกน้อยจะมีลักษณะเป็นแผลขาวๆที่ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้น หรือแม้กระทั่งเหงือก หากมีแผลเพียง 1 แผลส่วนมากจะไม่มีไข้ เด็กบางคนมีทั้งแผลในปากและมีไข้ร่วมด้วยก็ได้ค่ะ

สาเหตุของการเกิดร้อนใน (แผลในปาก)

1. ติดเชื้อไวรัส กลุ่ม เอ็นเทอโรไวรัส ในเด็กจะเป็นตุ่มใสๆบางครั้งตุ่มแตกเป็นแผลเหมือนกับแผลร้อนใน บางคนเป็นหลายๆ แผลในปาก ทั้งบนลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดาน แผลเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดและทรมานกับเด็กๆเป็นอย่างมาก มักเกิดในเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

2. ระบบภูมิต้านทานของร่างกายอ่อนแอลง กำลังไม่สบาย เช่น เป็นหวัด

3. ทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป

4. ลูกน้อยกัดปากตนเอง

5. ขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก โฟเลต วิตามินบี 12

แนวทางการรักษาอาการร้อนใน ( แผลในปาก ) สำหรับเด็ก

อาการร้อนใน ( แผลในปาก ) รักษาตามสาเหตุและอาการ หากเกิดจากการติดเชื้อเอ็นเทอโรไวรัส แพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อโดยเฉพาะ บางรายปวดและมีไข้ด้วยแพทย์จะให้ยาลดไข้บรรเทาปวดร่วมด้วยในเด็กแต่ละคนมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญในรายที่มีไข้คุณแม่ควรมีการตรวจเช็คอุณภูมิของลูกเป็นระยะ เพื่อป้องกันอาการชักที่เกิดจากไข้ด้วย

วิธีการป้องกันการติดเชื้อสำหรับเด็ก

วิธีการป้องกันที่ดีทีสุดคือการรักษาสุขอนามัย เช่น ล้างมือให้สะอาด เช็ดหรือทำความสะอาดช่องปากสำหรับลูกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ ไม่ควรล้างคราบนมออกเนื่องจากน้ำนมแม่มีสารต้านการเติบโตของเชื้อรา ส่วนเด็กที่ดื่มนมผสมควรให้ดื่มน้ำตามมากๆเพื่อล้างคราบนมออก เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดูแลรักษาความสะอาดในช่องปาก

 

Photo credit: baby.haijai.com

บทความแนะนำ

ฝ้าขาวในปาก คุณแม่ควรรับมืออย่างไร?

การรับมือลูกน้อยมีแผลในปาก ควรทำอย่างไร?

โดย : Chang noye
อัพเดท : 29-07-59, 13:30 น.
ที่มา :

mamaexpert


แม่และเด็กล่าสุด
ดูข่าวแม่และเด็กทั้งหมด
นโยบายการใช้งาน
Copyright © 2015 KhanPak.com. All Rights Reserved.
ติดต่อเรา : 02-8779346, 086-3788812 (จ.-ส. เวลา 8.30-17.30)