
กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ระวัง!! อาจมี 9 โรคนี้ซ่อนอยู่!!
กินแล้วไม่อ้วนไม่ใช่เป็นเรื่องที่ดี สำหรับคนที่มีอาการแบบนี้ เพราะจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้เรากินเยอะได้ขนาดนี้ แต่น้ำหนักยังอยู่กับที่หรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้กำลังลดน้ำหนักหรือเป็นโรคกลัวอ้วน นั่นอาจมีเบื้องหลังเป็นปัญหาสุขภาพอยู่ก็ได้ โดยคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจเป็นเพราะอย่างนี้
1. มีพยาธิเยอะเกินไป
หากในร่างกายมีพยาธิสะสมอยู่มาก พยาธิเหล่านี้จะแย่งอาหารที่เรากินเข้าไปจนทำให้เรากินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้น
2. โหมออกกำลังกายมากเกินไป
เคสนี้อาจจะมีน้อยแต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีซะทีเดียวค่ะ เพราะบางคนมีอาการเสพติดการออกกำลังกายเป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าว่างเมื่อไรต้องออกกำลังกายเรียกเหงื่ออยู่ตลอด ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียแล้ว กับบางคนยังมีอาการกินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้นด้วย
3. ขาดสารอาหาร
ในกรณีที่คุณเป็นคนรักสุขภาพ (แบบผิด ๆ) เน้นกินแต่อาหารประเภทผักผลไม้เป็นส่วนใหญ่ พร้อมทั้งไม่เน้นกินแป้งหรือเนื้อสัตว์ตามสัดส่วนที่ร่างกายควรได้รับ ก็อาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่างได้
4. ไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือไฮเปอร์ไทรอยด์ มีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในร่างกาย โดยอาจมีการกระตุ้นระบบเผาผลาญและฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกายให้ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของคนที่กินเท่าไรก็ไม่อ้วนขึ้นได้เช่นกัน
5. โรคชีแฮน ซินโดรม (Sheehan’s Syndrome)
ส่วนใหญ่จะเกิดกับคุณแม่หลังคลอด ที่มีอาการตกเลือดรุนแรงระหว่างคลอดบุตร ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงต่อมใต้สมองไม่เพียงพอ ซึ่งบางแห่งของต่อมใต้สมองก็คือชีแฮน ซินโดรม ทำให้เนื้อบริเวณต่อมใต้สมองตายถาวร จนกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนไปควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่อาจผิดปกติไปด้วย
6. โรคเบาหวาน
อาการโรคเบาหวานในระยะเริ่มต้น อาจสังเกตได้ว่าผู้ป่วยจะกินอาหารได้เยอะแต่น้ำหนักก็ไม่เพิ่มขึ้นเท่าไร ซึ่งอาจสังเกตอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วร่วมด้วยก็ได้
7. โรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรังบางชนิดอย่างวัณโรค อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยกินเท่าไรก็ไม่อ้วนได้ ดังนั้นหากมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน และมักจะเป็นไข้เหงื่อออกตอนกลางคืนบ่อย ๆ แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
8. โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (IBD)
ถ้ากินเยอะมาก ๆ แล้วก็ยังไม่อ้วน แถมยังเป็นคนที่ถ่ายคล่องผิดปกติ เหมือนลำไส้ต่อตรง กินแล้วถ่าย ๆ อย่างนี้ อาจต้องสงสัยถึงภาวะของโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Irritable bowel disease) ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะพบว่าผู้ป่วยโรคนี้มีภาวะน้ำหนักลดหรืออ้วนยากร่วมด้วย
9. โรคมะเร็ง
ภาวะโรคมะเร็งบางชนิดอาจทำให้ร่างกายสะสมแคลเซียมไว้สูงผิดปกติ หรืออาจทำให้เกิดภาวะพาราไทรอยด์ทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้ระบบเผาผลาญขยันจนกินอาหารเท่าไรก็เบิร์นได้ไวไปซะหมด ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยผอมซูบลงไปด้วยนั่นเอง
บทความแนะนำ : 9 วิธีการกินบุฟเฟต์ อิ่มแต่ไม่อ้วน